..... ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก นางสาว อารีย์พร ดีแป้น รหัส 544110236 สังคม หมู่ 3.....

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555


บทที่6

นวัตกรรมการเรียนการสอน
                   ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู –อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

ความหมาย
             คำจำกัดความของคำว่า   “นวัตกรรมทางการศึกษา”   จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่   หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม    โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย

เทคนิคการสอนแบบ CIPPA
การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดลซิปปา
                       ในปัจจุบันแนวการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและในต่างประเทศ แนวความคิดในการจัดการศึกษานี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing)ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่หลากหลาย  มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เรียน
โมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็นการเรียนการสอนที่เป็นแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางซิปปานี้พัฒนาขึ้นโดย  รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา  แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการศึกษาผู้มีประสบการณ์สอนและการนิเทศการสอน ได้กล่าวว่า  แนวคิดในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาไทยมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในการปฏิบัติที่เป็นน่าพอใจ ครูจำนวนมาก ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลนี้  ทิศนา  แขมมณี จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ (Center of attention) หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน ทิศนา  แขมมณี (2543) ได้เสนอไว้ดังนี้
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย คือ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาทรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน


                                 การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

  แนวคิด                 การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

ความหมาย          การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง

วัตถุประสงค์        การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง

ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี
รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
8. วัสดุ  อุปกรณ์
9. งบประมาณ
10. ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน      การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี  4  ขั้นตอน คือ
1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. วางแผนหรือวางโครงงาน  นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร  ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด  จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ  ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล  โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  มีข้อบกพร่อง  และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร

วิธีการทำโครงงาน
1. ประชุมปรึกษาหารือ  เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน  จากสิ่งต่อไปนี้
การสังเกต หรือตามที่สงสัย
ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
จากปัญหาใกล้ตัว  หรือการเล่น
คำบอกเล่าของผู้ใหญ่  หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ  เหตุผล  ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น  การสำรวจ  การทดลอง  เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา   โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน  ให้ครอบคลุม  น่าสนใจ
 การประเมินผลการทำโครงงาน        ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา

การสอนให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Student Centered Learning)
โดยคำนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการเรียนการสอนตามความต้องการของนักศึกษา ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน จึงอาจเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนขนาดใหญ่ การวิจัยพบว่าการสอนวิธีนี้ทำให้นักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่เขาต้องการเรียน เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเขา  ทำให้มีแรงจูงใจให้เรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ประสานความรู้เพื่อให้นักเรียนไปถึงจุดหมาย
ครูจะต้องมองว่า เราสอนใคร  เพื่อให้เขาทำอะไร  และ  จะสอนอย่างไร หากรู้พื้นฐานนักเรียน (สอนใคร)  ก็จะสามารถจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานเขาได้ และการสอนต้องให้เขาตระหนักในประโยชน์ (เพื่ออะไรจากนั้นจึงดำเนินการสอน (อย่างไรให้สอดคล้องและได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งวิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง    น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง

วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง

1.       อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและ    แก้ปัญหา  นักศึกษาจะต้องอ่านหนังสือมาก่อน  นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง  ซึ่งการวัดผล จะต้องใช้  ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
2.       การเรียนแบบโครงงาน  โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงานย่อย 4 โครงการ  ใช้เวลาโครงการละ 2สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องตั้งปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา

ประเด็นเสนอแนะปลีกย่อย
1.       ครูต้องเก่งมากจึงจะเป็นผู้ประสานวิชาการอันหลากหลายได้
2.       น่าจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้เป็น Student Centered Service เสียด้วย คือให้นักศึกษาบริการตนเองในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะฝึกให้นักศึกษารู้จักรับผิดชอบมากขึ้น
3.       วิธีนี้สามารถทำได้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา  แต่หากเป็นระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยจะต้องควบคุมขนาดชั้นเรียน และกำหนดทิศทางในการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน 
4.       ความยากคือการตรวจงาน การประเมิน วิธีที่น่าทดลองคือ ให้เด็กตรวจงานกันเอง 
5.       น่าจะมีชั้นเรียนทดลองวิธีนี้ อาจารย์ท่านใดต้องการทดลองโปรดแจ้งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
6.       อาจทดลองให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาวิชาสัก 10 - 20 %
7.       พอทำได้ในชั้นปีที่ 3 – 4 เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่จะบูรณาการได้แล้ว ส่วนในชั้นปีที่ 1 – 2 นั้น อาจทำไม่ได้
8.       สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ รศ.ดร.ทวิช  ทดลองใช้วิธีแบ่งกลุ่มทำการบ้านและตรวจการบ้านกันเองโดยการสลับกลุ่ม โดยเฉลยให้เฉพาะหลักการ นับว่าเป็นการเรียนแบบนเป็นศูนย์กลางในระดับหนึ่งและอีกรูปแบบหนึ่ง


1.วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture)
ความหมาย       
          วิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
วัตถุประสงค์    
            เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ในเวลาที่จำกัด
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
                 1. ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรยาย
              2. ผู้สอนบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
              3. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)
1. แนวคิด
เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล ได้กล่าวไว้ดังนี้
2. ลักษณะสำคัญ
วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้ ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์
3. วัตถุประสงค์
1. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
2. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
3. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้
4. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้
4. จำนวนผู้เรียน
การสาธิตเป็นการแสดงให้ดู การลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-7 คน หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต

5. ระยะเวลา
ระยะเวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหา เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน หรืออยู่ที่วิธีการสาธิต บางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที

6. ลักษณะห้องเรียน
การสอนแบบสาธิต อาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ 3 รูปแบบ คือ
6.1 การสาธิตในห้องทดลอง กระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้
6.2 การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง เป็นต้น
6.3 การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน
7. ลักษณะเนื้อหา
รูปแบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิตคือ ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้
8. บทบาทผู้สอน
วิธีสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู และการบอกให้เข้าใจ บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง
9. บทบาทผู้เรียน
วิธีสอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วยคือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

10. ขั้นตอนการสอน
ก่อนการสาธิต มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่างเป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน เช่น การสาธิต ขั้นตอนการยิงลูกโทษ การสาธิตการเตะตะกร้อ และการสาธิตบางเรื่องต้องการสาธิตให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสาธิตในห้องทดลอง
2. การเตรียมการ ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน
ขณะทำการสาธิต
ผู้สอนควรอธิบายหรือบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อน โดยเฉพาะควรจะบอกวัตถุประสงค์ของการสาธิตให้ผู้เรียนได้ทราบ หลังจากนั้นจึงนำเข้าสู่การสาธิต โดยการอธิบายให้ฟังหรือใช้สื่อต่าง ๆ อาจจะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยายหรือวีดิทัศน์ หรือวิธีการที่ผู้สอนทั่วไปใช้คือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อน โดยให้ไปอ่านเอกสาร หนังสือ หรือค้นคว้าเรื่องราวที่สาธิตนั้นก่อน ก็จะทำให้การสาธิตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจน
ในขณะสาธิตผู้เรียนสาธิตต้องดำเนินการสาธิตไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อาจจะสลับด้วยการบรรยายแล้วสาธิต วิธีที่จะทำให้บรรยากาศการสาธิตเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิตตลอดเวลา อาจจะเป็นการถามนำ กระตุ้น หรือให้ผู้เรียนช่วยสาธิตเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้สาธิตก็ต้องสาธิตหลาย ๆ ครั้ง หรือให้ผู้เรียนทำตามไปด้วยเป็นขั้น ๆ ผู้สอนจะต้องชี้แนะหรือเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนสาธิตจำเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
ภายหลังการสาธิต
เมื่อการสาธิตจบลงแล้ว การย้ำเน้นเรื่องราวที่สาธิตไม่ว่าจะเป็นการสาธิตกระบวนการหรือสาธิตผู้สอนก็ต้องให้มีการสรุป ทั้งนี้ผู้ดูหรือผู้เรียนเป็นผู้สรุปเอง โดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน หรือบางครั้งการจัดอาจจะจบลงด้วยการสรุปโดยวีดิทัศน์ หรือสไลด์ประกอบเสียง โดยการสอบถาม แจกแบบสอบถาม แบบทดสอบ ทั้งนี้อยู่ที่ระยะเวลาที่เหลือ

11. สื่อการสอนแบบสาธิต
การสอนแบบสาธิตก็เช่นเดียวกับวิธีการสอนแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่การสาธิตนั้นหากเป็นการสาธิตที่ไม่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ใด ๆ ตัวผู้สอนจะเป็นสื่อที่สำคัญ ดังนั้นผลของการสาธิตจะบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับผู้สอน แต่แนวทางที่จะให้การสอนแบบสาธิตเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบการสอนแบบสาธิตซึ่งต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ก่อนการสาธิตจนกระทั่งหลังการสาธิต

12. การวัดและประเมินผล
การสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมิน อาจจะโดยการสังเกต วิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม
13. ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
ข้อจำกัด
1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4) บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา
14. การปรับใช้การสอนสาธิตโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ขั้นเตรียมการสาธิต

14. การปรับใช้การสอนสาธิตโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ขั้นเตรียมการสาธิต
ผู้สอนต้องเตรียมการให้ดี ไม่ว่าการเตรียมเนื้อหา บทบาทการสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นของผู้สอนแต่เนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในส่วนใดที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ทัศนคติ บทบาทในส่วนนั้นจะเน้นที่ผู้เรียนมากกว่าผู้สอน การเตรียมกระบวนการ เตรียมสื่อที่จะสาธิต และเตรียมกิจกรรมที่จะสาธิตต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เมื่อสาธิตจบแล้วควรมีการวางแผนว่าจะทำกิจกรรมอะไรต่อไปโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด
ขั้นการสาธิต
ผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้สาธิตเป็นคนทำ แต่ในบางครั้งก็ให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยสาธิต อธิบายหรือตอบคำถาม ผู้สาธิตควรใช้สื่ออื่น ๆ ที่เร้าความสนใจได้มากกว่าคำพูดประกอบ เช่น ของจริง ของตัวอย่าง แผ่นโปร่งใส สไลด์ หรือภาพฉาย ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวบนจอ ในขณะสาธิตจะต้องเน้น ต้องย้ำ การที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง (Feedback) ตลอดเวลา เช่น การซักถาม การอธิบายเสริม การได้มีกิจกรรมเสริมอื่น ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ สถานการณ์จำลอง การเล่นเกม ผู้สาธิตพยายามให้ผู้ดูมีส่วนร่วมมากที่สุด ที่สำคัญผู้สาธิตต้องมีความสามารถที่จะต้องจูงใจให้ผู้เรียนติดตามตลอดเวลา การจูงใจทำได้หลายวิธี เช่น การถามตอบ การให้เพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน เป็นต้น
ภายหลังการสาธิต
ผู้เรียนควรมีโอกาสทำกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ที่จะช่วยเน้นย้ำ เรื่องราวที่ได้เห็นการสาธิตมาเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องที่เรียนและจำได้นาน ส่วนการประเมินการสาธิตถ้ามีโอกาสก็ควรให้ผู้เรียนได้รู้ว่ามีความเข้าใจหรือรู้เรื่องที่ได้เห็นการสาธิตมาเพียงใด ซึ่งการวัดและประเมินในส่วนนี้ถ้าทำได้ทุกครั้งก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่มีเวลาอาจจะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง แต่ในส่วนของผู้สอนนั้นอาจจะประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสนใจ หรือเอาใจใส่เพียงใด การประเมินจะเป็นวิธีการพัฒนาการสาธิตของผู้สอนได้เป็นอย่างดี